มีฤดูกาล | |
แบ่งออกเป็น 3 ฤดู ดังนี้ | |
1. ฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม หรือต้นเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนตุลาคม ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม | |
หรือต้นเดือนมิถุนายน ฝนเริ่มตกและจะตกถี่ขึ้นในเดือนสิงหาคมหรือเดือนกันยายน ซึ่งเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด | |
ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุดฝนที่ตกในระยะนี้ได้รับอิทธิพลมาจากลมมรสุมตะวัน | |
ตกเฉียงใต้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเป็นอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นจากทะเลจีนใต้ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมฝนจะ | |
เริ่มน้อยลง รวมระยะเวลาของฤดูฝนประมาณ 5 เดือน | |
2. ฤดูหนาว เริ่มประมาณเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมกราคม ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจะเป็นระยะ | |
เปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาวคือลมมรสุมเฉียงใต้เริ่มอ่อนลง ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเข้ามาแทนที่ | |
จึงนับว่าย่างเข้าสู่ฤดูหนาว ซึ่งอุณหภูมิจะไม่ลดต่ำมากนักเพราะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ปลายลมมรสุมตะวัน | |
ออกเฉียงเหนือและอยู่ใกล้อ่าวไทยไออุ่นจากทะเลทำให้หนาวน้อยลง รวมระยะเวลาของฤดูหนาวประมาณ 3 เดือน | |
3. ฤดูร้อน เริ่มประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์อิทธิพลของลมมรสุมตะวัน | |
ออกเฉียงเหนือเริ่มอ่อนลง ทำให้อากาศเริ่มร้อนและจะร้อนอบอ้าวที่สุดในเดือนเมษายน สาเหตุเพราะการแผ่รังสี | |
ของดวงอาทิตย์และการถูกปกคลุมด้วยความกดอากาศสูง จากทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งเป็นต้นกำเนิด | |
ของกระแสลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดเข้าสู่อ่าวไทยทำให้อากาศร้อนมากขึ้น แต่จังหวัดพระนครศรีอยุธยายังไม่ | |
ร้อนมากที่สุด เพราะมีแม่น้ำลำคลองมากมายจึงช่วยคลายความร้อนลงได้บ้าง รวมระยะเวลาของฤดูร้อน ประมาณ4 เดือน | |
วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ฤดูกาล
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
อำเภอพระนครศรีอยุธยา
เครื่องประดับมุก เช่น โตก ตะลุ่ม ถาด ที่ตำบลท่าวาสุกรี ตำบลไผ่ลิง ในเกาะเมือง
โต๊ะหมู่บูชา ธรรมาสน์ เฟอร์นิเจอร์ลายไม้ เครื่องไม้แกะสลัก ที่ตำบลท่าวาสุกรี ตำบลไผ่ลิง ตำบลบ้านใหม่ ตำบลประตูชัย ตำบลวัดตูม บริเวณเกาะเมือง
ปลาตะเพียนสาน เครื่องแขวน ที่บ้านหัวแหลม ตำบลท่าวาสุกรี, บ้านรัตนชัย ตำบลประตูชัย ในเกาะเมืองอยุธยา
หัวโขน มีแห่งเดียวที่บ้าน ม.ร.ว. จรูญสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์ ๕/๑ ตำบลท่าวาสุกรี
โรตีสายไหม มีแหล่งจำหน่ายที่บริเวณทางด้านหน้า และด้านข้างโรงพยาบาลประจำจังหวัดอยุธยา ริมถนนอู่ทอง และตามร้านค้าทั่วๆ ไป
อำเภอพระนครศรีอยุธยา
เครื่องประดับมุก เช่น โตก ตะลุ่ม ถาด ที่ตำบลท่าวาสุกรี ตำบลไผ่ลิง ในเกาะเมือง
โต๊ะหมู่บูชา ธรรมาสน์ เฟอร์นิเจอร์ลายไม้ เครื่องไม้แกะสลัก ที่ตำบลท่าวาสุกรี ตำบลไผ่ลิง ตำบลบ้านใหม่ ตำบลประตูชัย ตำบลวัดตูม บริเวณเกาะเมือง
ปลาตะเพียนสาน เครื่องแขวน ที่บ้านหัวแหลม ตำบลท่าวาสุกรี, บ้านรัตนชัย ตำบลประตูชัย ในเกาะเมืองอยุธยา
หัวโขน มีแห่งเดียวที่บ้าน ม.ร.ว. จรูญสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์ ๕/๑ ตำบลท่าวาสุกรี
โรตีสายไหม มีแหล่งจำหน่ายที่บริเวณทางด้านหน้า และด้านข้างโรงพยาบาลประจำจังหวัดอยุธยา ริมถนนอู่ทอง และตามร้านค้าทั่วๆ ไป
ร้านสังคีตประดิษฐ์ ๙๗ หมู่ ๔ หมู่บ้านสหกรณ์ครู (หมู่บ้านวรเชษฐ์) ถ.อยุธยา–เสนา ต.บ้านป้อม
โทร. ๐ ๓๕๒๔ ๔๖๓๑, ๐ ๓๕๒๔ ๕๗๒๙
ตลาดกลางเพื่อเกษตรกร ตั้งอยู่ริมถนนสายเอเซีย ที่ตำบลหันตรา หลังจากเที่ยวชมในจังหวัดอยุธยาแล้วจะเดินทางกลับให้ขับรถ ข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรงไปทางฝั่งตะวันออกของเกาะเมืองแล้วให้เลี้ยวซ้ายตรงไปจนถึงถนนสายเอเซีย เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๒ ไปไม่ไกลนักจะมีทางให้เลี้ยวขวาเข้าไปจะเห็นตลาดกลางอยู่ทางซ้ายมือก็จะพบกับสถานที่จำหน่าย ผลิตภัณฑ์พื้นเมืองแทบทุกชนิดของจังหวัดเช่น มีดอรัญญิกแท้จากอำเภอนครหลวง พัดสานจากอำเภอบ้านแพรก ไม้แกะสลัก ของอำเภอพระนครศรีอยุธยา เสื้อผ้าสำเร็จรูปจากอำเภอบางปะอิน ปลาร้า ปลาแห้งและผลไม้กวนทุกชนิด ตลอดจนของขวัญ ของฝากหลากหลายจากทุกอำเภอ นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารซึ่งมีกุ้งและปลาสดๆ รสชาติอร่อยอยู่หลายร้าน
บริเวณวิหารวัดพระมงคลบพิตรและบริเวณวัดพนัญเชิงวรวิหารมีร้านค้ามากมายหลายร้าน จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมืองแทบทุกชนิด เช่น ปลาตะเพียน เครื่องจักสาน เครื่องหวาย มีดอรัญญิก ผลไม้กวน และขนมชนิดต่างๆ
ทรัพยากร
ทรัพยากรดิน
มีชุดดิน อยู่ 7 ชุด ดังนี้
1.ดินชุดเสนา มีลักษณะเป็นดินเหนียวตลอดชั้น มีความลึกดินมาก การระบายน้ำช้า อินทรีย์วัตถุค่อนข้างสูงไม่เหมาะสมในการเพาะพืชไร่ แต่เหมาะสมในการปลูกข้าว และมีปัญหาเรื่องน้ำท่วมอยู่บริเวณตำบลบ้านใหม่ ตำบลวัดตูม ตำบลสวนพริก ตำบลเกาะเรียน และตำบลป้อม
2. ดินชุดเสนา อยู่บริเวณตำบลปากกราน ตำบลคลองสวนพลู มีความลึกของดินมาก เนื่อดินเหนียวตลอดชั้น สีเทาเข้ม มีระดับความลึก 150 ซม. การระบายน้ำช้ามากปริมาณโปแตสเซี่ยมสูงมากมีพีเอส4.5-5.0 ไม่เหมาะสมในการปลูกพืชไร่ มีปัญหาน้ำท่วม มีความเหมาะสมในการปลูกข้าว แต่มีปัญหาเรื่องดินเป็นกรดหรือดินเปรี้ยว
3. ดินชุดท่าม่วง มีความลึกของดินมาก อยู่บริเวณตำบลบ้านใหม่ ตำบลวัดตูม การระบายน้ำดีปานกลาง มีอินทรีย์วัตถุปานกลาง มีความเหมาะสมในการปลูกพืชไร่ แต่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าว
4.ดินชุดราชบุรี อยู่บริเวณตำบลบ้านเกาะ ตำบลวัดตูม ตำบลคลองสระบัว ตำบลลุมพลี ตำบลบ้านใหม่ ตำบลภูเขาทอง และตำบลสวนพริก ลักษณะดินเป็นดินเหนียวสีเทาเข้มปนน้ำตาล การระบายน้ำค่อข้างเลว ไม่เหมาะสมในการปลูกพืชไร่เหมาะสมในการปลูกข้าว
5.ดินชุดสิงห์บุรี อยู่บริเวณตำบลสวนพริก เนื้อดินเป็นดินเหนียวตลอดชั้นดิน การระบายน้ำเลว ความสามารถในการให้น้ำซึมผ่านช้า มีน้ำในระดับความลึก 100 ซม. เป็นเวลา 1-2 ชม. มีอินทรีย์วัตถุปานกลาง มีความเหมาะสมในการปลูกข้าว ไม่เหมาะสมในการปลูกพืชไร่
6. ดินชุดสิงห์บุรี ดินชั้นล่างเป็นกรด ดินชุดนี้จะอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของตำบลบ้านใหม่ ลักษณะดินเหมือนกับดินชุดสิงห์บุรี คือมีการระบายน้ำเลว ไม่เหมาะสมในการปลูกพืชไร่ เหมาะสมในการปลูกข้าว
8. ดินชุดบางปะอิน จะอยู่บริเวณตำบลสำเภอล่ม ตำบลบ้านเกาะ การระบายน้ำค่อนข้างเลวและช้า ค่อนข้างเหมาะสมสำหรับปลูกข้าวและพืชไร่ แต่มีข้อจำกัดเรื่องน้ำท่วมในการปลูกพืชไร่
ทรัพยากรน้ำ
แหล่งน้ำผิวดิน
1.แม่น้ำ มีแม่น้ำสายสำคัญ จำนวน 3 สาย ได้แก่
- แม่น้ำป่าสัก ไหลมาากอำเภอนครหลวง ผ่านตำบลบ้านเกาะ ตำบลหัวรอ ตำบลกะมัง ตำบลหิรัตนไชย ตำบลลองสวนพลู และไหลไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลป้อมเพชร
- แม่น้ำลพบุรี ไหลมาจากอำเภอบางปะหัน ผ่านตำบลสวนพริก และตำบลบ้านเกาะ ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำป่าสักที่วัดตองปุ ตำบลบ้านเกาะ
- แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านเข้ามาจากอำเภอพระนครศรีอยุธยา ผ่านตำบลบ้านใหม่ ตำบลภูเขาทอง ตำบลบ้านป้อม ตำบลปากกราน ตำบลสำเภาล่ม ตำบลประตูชัย ตำบลคลองตะเคียน ตำบลคลองสวนพลู ตำบลกาะเรียน และตำบลบ้านรุน
2.ลำคลองธรรมชาติ ลำคลองที่สำคัญได้แก่ คลองหางกระเบนเหนือ คลองหางกระเบนใต้ คลองมหาพราหมณ์ คลองมะขามเทศ คลองวัดป้อม คลองปากกราน คลองตะเคีรยน คลองวัดไก่เตี้ย คลองบางหวาน คลองโคกเหนือ คลองสวนพลู คลองสวัสดี คลองเตาอิฐ คลองข้าวสาร คลองไผ่ลิง คลองกุฎีดาว
3.แหล่งน้ำชลประทาน อำเภอพระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่ซึ่งอยู่ในเขตบริการตามโครงการชลประทาน จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
-โครงการชลประทานบางบาล มีพื้นที่รับผิดชอบในเขต ตำบลบ้านป้อม ตำบลปากกราน ตำบลสำเภาล่ม ตำบลคลองตะเคียน ตำบลบ้านรุน
-โครงการชลประทานมหาราช มีพื้นที่รับผิดชอบในเขต ตำบลบ้านใหม่ ตำบลภูทอง ตำบลวัดตูม ตำบลลุมพลี ตำบลสวนพริก
- โครงการชลประทานเริงราง มีพื้นที่รับผิดชอบในเขต ตำบลบ้านเกาะ และตำบลสวนพริก
-โครงการชลประทาน มีพื้นที่รับผิดชอบในเขต ตำบลบ้านเกาะ ตำบลเกาะเรียน ตำบลหันตรา และตำบลคลองสวนพลู
วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
โบราณสถานที่น่าสนใจ
โบราณสถานที่น่าสนใจ
พระราชวังโบราณ หรือพระราชวังหลวง เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ และเป็นทั้งศูนย์กลางด้านการเมืองและการปกครองในเวลาเดียวกัน เมื่อแรกสร้างกรุงศรีอยุธยานั้นสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง (พ.ศ. ๑๘๙๓-๑๙๑๒) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้นในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งวัดพระศรีสรรเพชญ์
วัดพระศรีสรรเพชญ์ เดิมเป็นพระราชวังที่ประทับซึ่งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างขึ้น ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. ๑๙๙๑ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระราชวังไปสร้างใหม่ทางด้านริมแม่น้ำลพบุรี และอุทิศพระราชวังให้เป็นวัดสำหรับประกอบพิธีต่าง ๆ
วัดราชบูรณะ เป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. ๑๙๖๗ ในบริเวณที่ถวายพระเพลิงศพเจ้าอ้ายพระยา เจ้ายี่พระยา พระเชษฐาทั้งสองของพระองค์ ซึ่งสิ้นพระชนม์ลงเนื่องจากการรบแย่งชิงราชสมบัติ
วิหารพระมงคลบพิตร พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปบุทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งในประเทศ ไทย สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น เมื่อพ.ศ. ๒๔๙๙ จอมพลป.พิบูลสงครามได้บูรณะวิหารพระมงคลบพิตรใหม่ทั้งหมดดังที่ปรากฏใน ปัจจุบัน
วัดมเหยงคณ์ เดิมเป็นพระอารามหลวง และกลายเป็นวัดร้างไปภายหลังกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ วัดนี้ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ ๕ ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่นอกเขตเมืองมาทางทิศตะวันออก ถ้าเดินมาจากถนนสายเอเชีย แยกเข้าสู่ถนนโรจนะเพื่อมุ่งเข้าเกาะเมือง พอมาถึงเจดีย์วัดสามปลื้มเลี้ยวขวาอ้อมวงเวียนมาตามถนนระยะทางประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร ก็จะถึงทางเข้าวัดมเหยงคณ์ ท่านจะมองเห็นผนังอุโบสถก่อด้วยอิฐสีแดงตระหง่านแต่ไกล
บริเวณโคกโพธิ์เป็นเนินดินตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพุทธาวาส ลักษณะเกือบเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาว 58 เมตร กว้าง 50 เมตร อาจเป็นที่ตั้งพลับพลาที่ประทับของพระเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชะเวตี้ ต่อมาเมื่อพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงปฏิสังขรณ์วัดนี้ คงจะได้สร้างเจดีย์เล็ก ๆ หรือสิ่งก่อสร้างอื่น เพราะสังเกตเห็นเป็นมูลดินเตี้ยๆ คล้ายเจดีย์อยู่หลายแห่ง ได้พบรากฐานอิฐและกระเบื้องอยู่มาก (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ ลานธรรมจักษุ)แม่น้ำ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ในบริเวณที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มดินตะกอนอันอุดมสมบูรณ์ เป็นที่รวมของแม่น้ำสี่สายคือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำน้อย นอกจากนั้นยังมีลำคลองหนองบึงน้อยใหญ่อีกเป็นจำนวนมาก ครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัด จนได้รับการยกย่องว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นแหล่งผลิตอาหารทางการเกษตรที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะข้าวและปลา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ในเขตภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ ๒, ๕๔๘,๐๐๐ ไร่ หรือประมาณ ๒,๕๔๘ ตารางกิโลเมตร ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดอ่างทอง และจังหวัดลพบุรี ทิศตะวันออกติดต่อกับ จังหวัดสระบุรี ทิศใต้ติดต่อกับ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดนครปฐม ทิศตะวันตกติดต่อกับ จังหวัดนครปฐมและ จังหวัดสุพรรณบุรี
สภาพทั่วไปของพื้นที่จังหวัดเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงทั้งหมดในฤดูน้ำหลาก และจะขังอยู่ในท้องทุ่งนานถึงสี่เดือน ระหว่างเดือนแปดถึงเดือนสิบเอ็ด ไม่มีภูเขา และไม่มีป่าไม้ มีแม่น้ำสำคัญสี่สายไหลผ่านคือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำน้อย แม่น้ำได้ไหลพัดพาเอาเศษหิน ดิน ทราย และตะกอนมาทับถมกันเป็นเวลานานจนกลายเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ตั้งตัวเมืองมีสายน้ำล้อมรอบเรียกว่าเกาะเมือง
แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดของจังหวัด ทั้งในด้านเกษตรกรรม และการคมนาคมขนส่ง แม่น้ำเจ้าพระยาไหลมาจาก จังหวัดอ่างทองเข้าเขต จังหวัดพระนครศรีอยุธยาทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านอำเภอบางบาล อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางปะอิน และอำเภอบางไทร แล้วไหลเข้าสู่จังหวัดปทุมธานี รวมความยาวที่ไหลผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประมาณ ๕๕ กิโลเมตร
แม่น้ำลพบุรี เป็นแม่น้ำที่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งซ้าย ที่อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี ไหลผ่านจังหวัดลพบุรี เข้าเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่อำเภอ บ้านแพรก อำเภอบางปะหัน และอำเภอพระนครศรีอยุธยา แล้วไหลไปบรรจบกับแม่น้ำป่าสักที่หน้าวัดตองปุ ในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา รวมความยาวที่ไหลผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประมาณ ๖๓ กิโลเมตร
แม่น้ำป่าสัก ต้นน้ำเกิดจากทิวเขาเพชรบูรณ์ในเขตจังหวัดเลย แล้วไหลลงทางใต้ ผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี เข้าเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ อำเภอท่าเรือ แล้วไหลผ่านอำเภอนครหลวง ไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งซ้ายในเขต อำเภอพระนครศรีอยุธยาที่หน้าวัดพนัญเชิง รวมความยาวที่ไหลผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประมาณ ๕๒ กิโลเมตร
แม่น้ำน้อย แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งขวาที่ อำเภอเมือง ฯ จังหวัดชัยนาท ไหลผ่านจังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง เข้าเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา แล้วไปบรรจบกับคลองบางบาล ซึ่งเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมที่บ้านสีกุก แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลราชคราม อำเภอบางไทร รวมความยาวที่ไหลผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประมาณ ๓๐ กิโลเมตร
ราชธานีเก่า
ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ากานท์ทวี คนดีศรีอยุธยา
417 ปีแห่งการเป็นราชธานีเก่าแก่ของสยามประเทศ ประกอบด้วย 5 ราชวงศ์คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททองและราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 33 พระองค์ โดยมีปฐมกษัตริย์คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) พระนครศรีอยุธยาจึงนับเป็นราชธานีที่มีอายุยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติไทย
ภูมิประเทศของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำสายใหญ่ไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านทางด้านทิศตะวันตกและ ทิศใต้ แม่น้ำป่าสักไหลผ่านทางทิศตะวันออก และแม่น้ำลพบุรี(ปัจจุบันเป็นคลองเมือง)ไหลผ่านทางด้านทิศเหนือ แม่น้ำสามสายนี้ไหลมาบรรจบกัน โอบล้อมรอบพื้นที่ของตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา ตัวเมืองจึงมีลักษณะเป็นเกาะ เราจะเห็นบ้านเรือนปลูกเรียงรายหนาแน่นตาม สองข้างฝั่งแม่น้ำ แสดง ถึงวิถีชีวิตของผู้คนที่ผูกพันอยู่กับสายน้ำมายาวนาน
จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 76 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 2,556 ตารางกิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 16 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอ นครหลวง อำเภอภาชี อำเภอบ้านแพรก อำเภอบางซ้าย อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอบางบาล อำเภอมหาราช อำเภอบางปะหัน อำเภอเสนา อำเภออุทัย อำเภอบางปะอิน อำเภอผักไห่ อำเภอท่าเรือ และอำเภอวังน้อย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ[3] และมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน เคยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดที่ไม่มีอำเภอเมือง มีอำเภอพระนครศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ชาวบ้านโดยทั่วไปนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "กรุงเก่า" หรือ "เมืองกรุงเก่า"
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดลพบุรี อ่างทอง และสระบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดปทุมธานี และนนทบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสระบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุพรรณบุรี
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดลพบุรี อ่างทอง และสระบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดปทุมธานี และนนทบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสระบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุพรรณบุรี
วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555
ศิลปะ-วัตนธรรม-ประเพณี
งานประจำปีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
จัดขึ้นปลายเดือนมกราคม หรือต้นเดือนกุมภาพันธ์ ภายในงานมีการแสดง ทางวัฒนธรรม สาธิตการผลิตสินค้าหัตถกรรม จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของ ศูนย์ฯ และการละเล่นพื้นบ้าน
งานเทศกาลสงกรานต์
จัดในวันที่ 13 เมษายน หน้าวิหารพระมงคลบพิตร มีขบวนแห่ตามประเพณีของชาวอยุธยาและขบวนแห่เถิดเทิง สรงน้ำพระมงคลบพิตร จำลอง และประกวดนางสงกรานต์
พิธีไหว้ครูบูชาเตา
เป็น "พิธีไหว้ครู" ของช่างตีมีดตีดาบที่รู้จักทั่วไปว่า "มีดอรัญญิก" ที่บ้านต้นโพธิ์ บ้านไผ่หนองและบ้านสาไล ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง
งานลอยกระทงตามประทีปและแข่งเรือยาวประเพณี
จัดขึ้นปลายเดือนพฤศจิกายน ณ ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร มีการประกวดนางนพมาศ ประกวดขบวนแห่ ประกวดกระทง-โคมแขวน การแสดงและการละเล่นพื้นบ้าน การแข่งเรือยาวประเพณี และ เรือยาวนานาชาติ จำหน่ายอาหาร และสินค้ามากมาย
งานแสดงแสงเสียงอยุธยามรดกโลก
เนื่องจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศโดยองค์การยูเนสโก ให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อวันที่13ธันวาคม2534 ทางจังหวัดจึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองทุกปี ระหว่างวันที่ 13-19 ธันวาคม เป็นระยะเวลา 7 วัน ในงานจะมีการแสดงชีวิตความเป็นอยู่ ศิลปหัตถกรรม วัฒนธรรมและประเพณีของไทย รวมทั้งการแสดงแสงเสียงเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยา
จัดขึ้นปลายเดือนมกราคม หรือต้นเดือนกุมภาพันธ์ ภายในงานมีการแสดง ทางวัฒนธรรม สาธิตการผลิตสินค้าหัตถกรรม จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของ ศูนย์ฯ และการละเล่นพื้นบ้าน
จัดในวันที่ 13 เมษายน หน้าวิหารพระมงคลบพิตร มีขบวนแห่ตามประเพณีของชาวอยุธยาและขบวนแห่เถิดเทิง สรงน้ำพระมงคลบพิตร จำลอง และประกวดนางสงกรานต์
พิธีไหว้ครูบูชาเตา
เป็น "พิธีไหว้ครู" ของช่างตีมีดตีดาบที่รู้จักทั่วไปว่า "มีดอรัญญิก" ที่บ้านต้นโพธิ์ บ้านไผ่หนองและบ้านสาไล ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง
งานลอยกระทงตามประทีปและแข่งเรือยาวประเพณี
จัดขึ้นปลายเดือนพฤศจิกายน ณ ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร มีการประกวดนางนพมาศ ประกวดขบวนแห่ ประกวดกระทง-โคมแขวน การแสดงและการละเล่นพื้นบ้าน การแข่งเรือยาวประเพณี และ เรือยาวนานาชาติ จำหน่ายอาหาร และสินค้ามากมาย
งานแสดงแสงเสียงอยุธยามรดกโลก
เนื่องจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศโดยองค์การยูเนสโก ให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อวันที่13ธันวาคม2534 ทางจังหวัดจึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองทุกปี ระหว่างวันที่ 13-19 ธันวาคม เป็นระยะเวลา 7 วัน ในงานจะมีการแสดงชีวิตความเป็นอยู่ ศิลปหัตถกรรม วัฒนธรรมและประเพณีของไทย รวมทั้งการแสดงแสงเสียงเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)